จู่โจมถึงสถานีโทรทัศน์ เพื่อเรียกร้องสิทธิ์ LGBTQ+

MASSive TV : ย้อนรอยจุดเริ่มต้นการประท้วงที่จู่โจมถึงสถานีโทรทัศน์ แต่พวกเขามาเพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ


หากจะพูดถึงเรื่องราวความหลากหลายทางเพศของโลก เรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้เพิ่งถูกเกิดขึ้น หรือ ไม่ได้เพิ่งถูกกล่าวถึงขึ้นมา หากแต่เรื่องราวความหลากหลายทางเพศเหล่านี้ เริ่มมีมานานก่อนประวัติศาสตร์และกินระยะเวลานานพอสมควรก่อนคริสตศักราชหลายพันปี

เรื่องราวความหลากหลายทางเพศนี้ ไม่ได้มีแค่ เกย์ เลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล ทรานเจนเดอร์ และยังมีอื่นๆอีกมากมาย แต่เรามักรู้จักกันในนาม “L.G.B.T.Q.I.A.+” หรือที่เราเรียกกันโดยย่อว่า “LGBTQ+”

แต่มีอยู่สิ่งเดียวที่ทำให้กลุ่มคนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศได้มีสิทธิเท่าเทียมกับมนุษย์เพศหลักๆ ทั้งชายและเพศหญิงได้นั้น คือระเบียบและกฏหมายต่างๆ ที่ออกมาบังคับใช้กับกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ได้อย่างถูกต้องและเท่าเทียมกันอย่างมากที่สุด

วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 กลุ่มนักเคลื่อนไหวสิทธิเสรีภาพของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ได้บุกยึดสถานีโทรทัศน์ BBC ประเทศอังกฤษ เพื่อเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพในตัวบทกฏหมายที่มีผลกระทบต่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นบันทึกสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ที่สำคัญในอีกเหตุการณ์ต่อวงการโทรทัศน์โลก

ซึ่งตัวบทกฏหมายมาตรา 28 ว่าด้วยเรื่องราว “การส่งเสริมการรักร่วมเพศ” ซึ่งมีการบังคับใช้ตัวกฏหมาย “ไม่ให้มีการส่งเสริมการรักร่วมเพศ” จนกระทั่งตัวบทกฏหมายนี้สร้างผลกระทบทำให้กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเรียกร้องถึงความต้องการในสิทธิและเสรีภาพของกลุ่มผู้ที่มความหลากหลายทางเพศ โดยที่กลุ่มคนที่ออกตัวบทกฏหมายนี้คือ กลุ่มรัฐบาลอนุรักษ์นิยม นำโดย “Margaret Thatcher” กลุ่มรัฐบาลอนุรักษ์นิยมในช่วงนั้น

จากเหตุการณ์ที่เป็นประวัติศาสตร์ของวงการโทรทัศน์โลก ที่ว่าด้วยเรื่องราวการยึดช่องสถานีโทรทัศน์ BBC นำโดยกลุ่มผู้ที่มีความหลายทางเพศ ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2531 กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการประท้วงของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ

จนกระทั่งการประท้วงเริ่มก่อตัวเป็นกระแสหลักของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งนำไปสู่การประท้วงครั้งประวัติศาสตร์ของโลก เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2536 นำโดยกลุ่มผู้ที่มีความหลายทางเพศ ณ กรุง วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา

ซึ่งเหตุการณ์การประท้วงที่เป็นครั้งประวัติศาสตร์ของโลก นำโดยกลุ่มผู้ที่มีความหลายทางเพศ ณ กรุง วอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้เข้าร่วมประท้วงถึง 800,000 ถึง 1,000,000 ล้านคน ทั้งนี้เก็บสถิติตัวเลขจากกรมตำรวจ ของ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี สหรัฐอเมริกา ซึ่งยกระดับการประท้วงเรื่องสิทธิและเสรีภาพของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศให้กลายเป็นการประท้วงในเชิงการเมืองครั้งใหญ่

จากจุดเริ่มต้นของตัวบทกฏหมายที่ไม่มีความเท่าเทียมกันในระหว่างเพศ สู่จุดเริ่มต้นในการเรียกร้องในบรรดาสิทธิและเสรีภาพของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในทั่วโลก ที่มาพร้อมกับข้อเรียกร้องซึ่งเป็นประเด็นสาระสำคัญของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศอยู่ 7 ข้อ ได้แก่

  1. ยุติการเลือกปฏิบัติที่มีต่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ
  2. การเข้าถึงการรักษาที่มีต่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ
  3. การทำความเข้าใจถึงคำจำกัดความคำว่า “ครอบครัว” และโครงสร้างของคำจำกัดความคำว่า “ครอบครัว”
  4. การให้สิทธิ์เข้าถึงในระบบการศึกษาให้เท่าเทียมกัน
  5. มีสิทธิ์และเสรีภาพในการรักร่วมเพศรวมถึงสิทธิ์ในร่างกายของตน
  6. ยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศต่างเชื้อชาติ
  7. ยุติการกดขี่ที่มีต่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2543 ณ ประเทศ สกอตแลนด์ และ พ.ศ. 2546 ณ ประเทศ อังกฤษ และ เวสส์ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้มีการปรับปรุงตัวบทกฏหมายในมาตรา 28 ว่าด้วยเรื่องราว “การส่งเสริมการรักร่วมเพศ” โดยการปรับปรุงตามข้อเรียกร้อง ข้อเสนอจาก 7 ข้อใหญ่ในเวลาต่อมา

ถึงแม้ในปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวกับผู้ที่มีความหลายทางเพศในทั่วโลก อาจจะไม่ได้ครอบคลุมทุกประเทศในทั่วโลก แต่นับได้ว่าเป็นสัญญาณอันดี ไม่ว่าจะเพศชาย เพศหญิง หรือจะเป็นเพศทางเลือก ต่างย่อมมีสิทธิเสรีภาพไม่ต่างกัน และ มีความเท่าเทียมกันในฐานะมนุษย์อยู่เสมอ

เรียบเรียงบทความโดย : คิม ธีรภัทร ลี้สกุล (Mass Media Thailand)

คลังข้อมูลบทความฉบับนี้ และ ศึกษาประเด็นเพิ่มเติมได้ที่