วันนี้ (2 เมษายน 2564) “Cofact ประเทศไทย” จัดกิจกรรมเสวนากับประเด็นข่าวลวงและการส่งเสริมให้เกิดการตรวจสอบข่าวลวงในวัน International Fact-Checking Day เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับข่าวลวง (Fake News) และข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง (Miss-information)
คุณระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) กล่าวถึงในประเด็นการตรวจสอบข่าวลวงบนสื่ออนไลน์ที่มีความแตกต่างกันส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ ซึ่งการเผยแพร่ข่าวลวงไม่สามารถครอบคลุมทุกพื้นที่ได้จริงๆ ข่าวลวงจึงระบาดเป็นวงจรเรื่อย ๆ การที่ใช้แพลตฟอร์มให้เกิดประโยชน์จะช่วยทำให้เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น โดยต้องใช้เครื่องมือที่หลากหลาย
คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย บมจ.อสมท กล่าวถึงหลักการทำงานของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ว่า “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์จะการสร้างความเข้าใจให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อทำให้เกิดวิธีคิดต่อคนเสพสื่อให้เข้าใจมากขึ้น ทำให้สามารถจำแนกการทำงานได้ รวมถึงเข้าใจสถานะการเป็นไปในการหาความจริง ซึ่งสุดท้ายแล้วต้องสร้างภูมิคุ้มกันในการรับข่าวลวง โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนที่เกิดในยุค Digital Native”
อ่านประกอบ : รายการ Fact-Checking บนหน้าจอทีวีไทย มีมากน้อยแค่ไหน? https://yarmfaojor.net/content/2364
คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งภาคีโคแฟค COFACT Thailand กล่าวว่า ในส่วนของโคแฟคจะใช้วิธีการทำงานที่มาจากไต้หวัน โดยใช้หลักการวารสารศาสตร์แบบผสมผสานกับทักษะทางดิจิทัลในการช่วยการทำงาน โดยยังใช้หลักการตาม UNESCO ที่ต้องใช้หลักการวารสารศาสตร์ในการตรวจสอบร่วมกัน หลักการสำคัญคือรัฐต้องเปิด Opendata เพื่อให้เหล่านักตรวจสอบข่าวลวงสามารถตรวจสอบข่าวลวงได้ และจะทำให้สามารถเข้าใจในการทำงานของรัฐมากขึ้นด้วย
ภาคีเครือข่าย Cofact ร่วมประกาศเจตนารมณ์ในวันตรวจสอบข่าวลวงโลกว่า “เนื่องจาก 2 เมษายนของทุกปี ได้รับการจัดให้เป็นวันตรวจสอบข่าวลวงโลก International Fact-Checking Day ที่ประกาศโดยองค์กรตรวจสอบข่าวสากล หรือ International Fact-Checking Network (IFCN) ที่มีสมาชิกองค์กรตรวจสอบข้อมูลข่าวสารหลายประเทศทั่วโลก ที่เน้นตรวจสอบข้อเท็จจริงในด้านสุขภาวะในยุค โควิต19 ข้อมูลข่าวสารในเชิงวารสารศาสตร์และข่าวสารทั่วไปโดยมุ่งหวังว่าผู้คนในสังคมจะให้ความสำคัญในข้อเท็จจริงและตรวจสอบข้อเท็จจริงมากขึ้นในยุคดิจิทัล ปีนี้ IFCN ร่วมกับภาค 39 องค์กรจัดงานสัมนาแบบไฮบริทขึ้นในประเทศไทยเพื่อรณรงค์ให้เกิดการรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารของพลเมืองและสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้ทุกคนในสังคมยุคดิจิทัลร่วมตรวจสอบข่าวสาร เพื่อลดความสับสนข้อมูลข่าวสารที่มีความซับซ้อมมากขึ้น วาระอันพิเศษ 39 องค์กรที่ร่วมจัดงานสำคัญพร้อมประกาศเจตนารมณ์ในการทำงานร่วมกันตลอดทั้งปี เพื่อสร้างกระแสความตื่นตัวของสังคมในพลเมือง”
“เราเชื่อมั่นว่าข้อเท็จจริงและความเข็มแข็งของภาคพลเมืองจะช่วยทำให้สังคมไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลได้ยังมีคุณภาพ บนพื้นฐานของการไตร่ตรอง ใช้เหตุผล ใช้วิจารณญาณเพื่อลดผลกระทบด้านลบของยุคข้อมูลข่าวสารรวมถึงลดความขัดแย้งอันเนื่องมาจากความเข้าใจผิดด้วยเช่นกัน” ภาคีเครือข่าย Cofact ร่วมประกาศเจตนารมณ์ในวันตรวจสอบข่าวลวงโลก