5 มีนาคม “วันนักข่าว”

ย้อนกลับไปในวันที่ 5 มีนาคม 2498 สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ได้ถือกำเนิดขึ้นโดยนักข่าวรุ่นบุกเบิก จำนวน 16 คน พร้อมกันนี้ได้มีการกำหนดให้วันที่ 5 มีนาคม เป็นวันที่แสดงออกถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของผู้ร่วมวงการนักข่าวจากหนังสือสำคัญ

โดยมีเนื้อหาดังนี้


5 มีนาคม ‘วันนักข่าว’

โดยที่ได้พิจารณาเห็นว่า หนังสือพิมพ์ได้มีการพัฒนาการก้าวหน้ามาเป็นลำดับและผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ก็ได้เพิ่มพูนเป็นปึกแผ่นแน่นหนาขึ้นทุกที จึงเป็นการสมควรที่จะได้กำหนดวันที่ระลึกขึ้นสักวันหนึ่ง เพื่อแสดงออกถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของผู้ร่วมวงการ จึงตกลงกันให้ถือเอาวันที่ 5 มีนาคม เป็นวันนักข่าวและหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับจะถือเอาวันนี้ เป็นประเพณีแห่งการหยุดงานประจำปี ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2510 เป็นต้นไป

ขอให้วันนักข่าวจงเป็นวันแห่งความแช่มชื่นเบิกบาน เป็นวันแห่งความสามัคคี กลมเกลียวกัน เพื่อธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและความเจริญก้าวหน้าของอาชีพหนังสือพิมพ์

มีบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ร่วมลงนาม ดังนี้
หนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์
หนังสือพิมพ์ข่าวพาณิชย์
หนังสือพิมพ์ข่าวสยาม
หนังสือพิมพ์ซินเสียง
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพิมพ์ตงฮั้ว
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย
หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย
หนังสือพิมพ์หลักเมือง
หนังสือพิมพ์ศิรินคร
หนังสือพิมพ์สยามนิกร
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
หนังสือพิมพ์สากล
หนังสือพิมพ์บางกอกเวิลด์
หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

และนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย สมัยนั้นคือนายโชติ มณีน้อย


หลังจากนั้น วันที่ 5 มีนาคม ของทุกปี ได้เป็นกลายเป็น “วันนักข่าว” ของประเทศไทย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แต่อย่างไรก็ตาม ต่อมาได้มีการกำหนดให้วันที่ 5 มีนาคม วันนักข่าว เป็นวันหยุดงานประจำปีของนักหนังสือพิมพ์ (มีผลตั้งแต่ 5 มีนาคม 2510) แต่ก็ต้องเลิกประเพณีดังกล่าวไป เพราะหนังสือพิมพ์ก็ยังแอบออกวางจำหน่ายในวันที่ 6 มีนาคม เนื่องจากประชาชนผู้รับสื่อ เกิดความตื่นตัวและต้องการที่จะบริโภคข่าวสารที่มากขึ้น

ที่มา:

Just ordinary guy who interested about current affairs, new media and technology. Now I'm Creative Content Creator and Co-founder of 'Yarmfaojor' (ยามเฝ้าจอ), Thailand TV Monitor by new generation.