รายงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของ 10 ข่าวเด่นวงการทีวี ปี 2561 อันดับที่ 3 จัดอันดับโดยทีมงาน ‘ยามเฝ้าจอ’
กลายเป็นเรื่องฮือฮาของโลกทีวีเมื่อนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ออกมายอมรับเป็นครั้งแรกว่า การจัดสรรปันส่วนจำนวนช่องทีวีดิจิทัลที่จัดการประมูลไปเมื่อ 5 ปีก่อนนั้น เป็นการประเมินสภาพอุตสาหกรรมที่ผิดพลาด! ไม่ตรงกับสภาพการแข่งขันจริงในตลาด และไม่ได้คำนึงถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ชมไปอย่างสิ้นเชิง (Technology Disruption)
เมื่อนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ออกมายอมรับเป็นครั้งแรกว่า การจัดสรรปันส่วนจำนวนช่องทีวีดิจิทัลที่จัดการประมูลไปเมื่อ 5 ปีก่อนนั้น เป็นการประเมินสภาพอุตสาหกรรมที่ผิดพลาด! ไม่ตรงกับสภาพการแข่งขันจริงในตลาด และไม่ได้คำนึงถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ชมไปอย่างสิ้นเชิง (Technology Disruption)
จนเป็นสาเหตุให้เกิดโศกนาฏกรรมอันเลวร้ายกับทีวีดิจิทัลหลายช่องในปัจจุบัน จนไม่สามารถยืนหยัดแข่งขันในสนามจอแก้วได้อีกต่อไป
ด้วยเหตุนี้ ปี 2561 จึงเป็นปีแห่งการ ‘เยียวยา’ ทีวีดิจิทัลของกสทช. โดยมีมาตรการหลายอย่างออกมาตลอดทั้งปี
เช่น พักชำระค่าใบอนุญาต 3 งวดสุดท้าย ระหว่างปี พ.ศ.2561-2565, นำเงินจากกองทุนกทปส.มาช่วยผู้ประกอบการฯ จ่ายค่าโครงข่าย (MUX) ครึ่งหนึ่งของค่าเช่าทั้งหมดเป็นระยะเวลา 2 ปี รวมถึงเปิดลู่ทางให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลสามารถ ‘โอนใบอนุญาต’ ให้รายอื่นๆ ที่สนใจเข้ามาดำเนินธุรกิจต่อได้ โดยต้องเข้าไปหารือกับกสทช.เป็นรายกรณีไป ด้วยความหวังที่จะต่อลมหายใจให้อุตสาหกรรมนี้พอจะประทังชีวิตต่อไปได้จนถึงฝั่ง
ข้อมูลจาก THE STANDARD สรุปข้อมูลสถานการณ์ทีวีดิจิทัล ปี 2560 ถึง 2561 ไว้ดังนี้
แก้ไขและเรียบเรียงเพิ่มเติมโดย Jenpasit Puprasert