นิสิตนิเทศจุฬาฯ ตั้งคำถามต่อการทำงานของสื่อมวลชน หลังสื่อหลายช่องรายงาน #ม็อบ28กุมภา ไม่ตรงกับความเป็นจริง แขวนป้ายผ้า “เสรีภาพสื่อ = เสรีภาพ ปชช.”, “#สื่อมีไว้ทำไม?” และ “สื่อไทยรับใช้เผด็จการ” พร้อมตั้งภาคีนักเรียนสื่อ ดึง ศิลปากร, มธ., มข. เป็นแนวร่วม
วันนี้ (1 มีนาคม 2564) เมื่อเวลา 16.30 น. ที่ใต้ถุน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดยคณะกรรมการนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และภาคีนักเรียนสื่อ ได้จัดกิจกรรมชุมนุมในชื่อ “#สื่อมีไว้ทำไม” เพื่อแสดงออกต่อการทำงานของสื่อที่รายงานข่าวการชุมนุมวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 โดยไม่ตรงกับความเป็นจริง
โดยนิสิตและประชาชนได้จัดนิทรรศการนำภาพการชุมนุมเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 รวมถึงได้เขียนแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น และวิพากษ์วิจารณ์ต่อการทำงานของสื่อมวลชน สถานการณ์ทางการเมือง และการทำงานของรัฐ ในช่วงเวลานี้
ต่อมาได้มีการนำป้ายผ้า “เสรีภาพสื่อ = เสรีภาพ ปชช.”, “สื่อมีไว้ทำไม?” และ “สื่อไทยรับใช้เผด็จการ” ไปแขวนไว้ที่สะพานลอยหน้าคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ แต่ทางตำรวจได้ขอให้นำป้ายผ้าออกหลังจากจัดชุมนุมเสร็จอีกด้วย พร้อมกับระบุว่าหากไม่นำออกจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
จากนั้น คณะกรรมการฯ ได้อ่านแถลงการณ์นิสิตคณะเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ประณามการคุกคามสื่อมวลชนที่รายงานข่าวการชุมนุมโดยรัฐผ่านการใช้อำนาจอันมิชอบ มีเนื้อหาเต็มๆ ดังนี้
แถลงการณ์คณะกรรมการนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรื่อง ประณามการคุกคามสื่อมวลชนที่รายงานข่วคารชุมนุมโดยรัฐผ่านการใช้อำนาจอันมิชอบ
สืบเนื่องจากการชุมนุมของประชาชนอย่างสันติตามหลักสากล และสื่อมวลชนทุกแขนงเองก็ได้ให้ความสนใจกับปรากฏการณ์ดังกล่าว จึงได้เข้าร่วมรายงานสถานการณ์ตลอดการชุมนุม แต่เจ้าหน้าที่ก็ได้ใช้วิธีการต่าง ๆ ในการปิดกั้นการรายงานข่าวสาที่จำเป็นต่ประชาชน ตลอดจนกระทั่งมีการใช้ความรุนแรงต่อสื่อมวลชนและประชาชนที่เข้าร่วมชุนุม รวมไปถึงมีสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งรายงานข้อมูลที่ไม่ตรงข้อเท็จจริง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เมื่อเวลาประมาณ 21.16 น. นักข่าวสถานีโทรทัศน์รายหนึ่งถูกกระสุนยางจากจ้าหน้าที่ตำรวจยิงใส่ จึงทำให้สัญญาณภาพการออกอากาศถูกตัด รวมไปถึงมีการควบคุมตัวประชาชนผู้ข้าร่วมชุมนุมอีกจำนวนหนึ่ง การกระทำดังกล่าวนับว่าเป็นการคุกคามสื่อมวลชนและประชาชนอย่างชัดจนโดยรัฐ ซึ่งเป็นการบ่อนทำลายสิทธิเสรีภาพของสื่อซึ่งก็คือสิทธิเสรีภาพของประชาชน และละเมิดกติการะหว่างประทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ ICCPR ที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคืตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ข้อ 9 ที่ระบุว่า “บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของร่างกาย บุคคลจะถูกจับกุมหรือควบคุมโดยอำเภอใจได้ บุคคลจะถูกลิดรอนเสรีภาพของตนมิได้ยกเว้นโดยเหตุและโดยเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย”
จากสถานการณ์ดังกล่าว คณะกรรมการนิสิตคณะนิทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความกังวลต่อการใช้กฎหมายและอำนาจอันมิชอในการควบคุการสื่อสารในสถานการณ์การชุมนุม จึงได้มีข้อเรียกร้องต่อรัฐและองค์กรสื่อทุกแขนง ดังนี้
1. ขอให้รัฐยุติการกระทำใด ๆ ที่เป็นการคุกคามหรือบ่อนทำลายสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนซึ่งนับว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยต้องเปิดให้สื่อมวลชนได้รายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างอิสระ ไม่ปิดกั้นหรือจำกัดการรายงานสถานการณ์โดยผ่านการใช้กฎหมายหรืออำนาจที่มิชอบธรรม ไม่ว่าจะผ่านกระบวนการกฎหมาย หรืออำนาจอันมิชอบใด ๆ ก็ตาม
2. สื่อมวลชนต้องดำเนินการนำเสนอข้อมูลข่าวสารตามหลักจริยธรรมสื่อ คือการนำเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ไม่ข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่หรือตกอยู่ในอิทธิพล การแทรกแซงใด ๆ ทางการเมือง กลุ่มทุน และกลุ่มกดดันทางสังคม ตลอดจนรายงานสถานการณ์อย่างเป็นภววิสัย ให้มีแหล่งข่วรอบด้าน สมดุล นำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและผ่านการตรวจสอบอย่างชัดเจนแล้ว ปราศจากอัตวิสัยรวมไปถึงไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงไปในการรายงานข่าว ตลอดจนให้ความสำคัญกับการกำหนดวาระข่าวสาร (Agenda Setting) และกรอบข่าว (News Framing) ที่ เป็นไปตามข้อเท็จจริง
3. ให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และองค์กรกำกับจริยธรรมสื่อที่เกี่ยวข้อง กำกับดูแล ส่งเสริมและดำเนินการปฏิรูปสื่อโดยปราศจากการครอบงำ รวมไปถึงตรวจสอบการรายงานข่าวของสื่อมวลชนให้ไม่มีข่าวปลอม (Fake News) หรือประทุษวาจา (Hate Speech) เกิดขึ้นในเนื้อหาของการรายงานเพื่อป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น และให้คณะกรรมการ กสทช. แสดงจุดยืนในกรณีที่รัฐมีการใช้ความรุนแรงกับสื่อมวลชนภายใต้พื้นฐานของสังคมประชาริปไตย
4. ในกรณีที่สื่อมวลชนไม่สามารถรายงานข้อมูลข่าวสารและข้อเท็จจริงได้ไม่ว่าจะเกิดจากการถูกกดดัน แทรกแซง หรือละเลยการปฏิบัติงานตามกรอบจรรยาบรรณก็ตาม ขอให้อาจารย์ นิสิต นักศึกษาด้านสื่อสารมวลชน แสดงพลังแห่งการสื่อสาร ส่ต่อข้อเท็จจริงและข่าวสารที่จำเป็นต่อประชาชนด้วยตนเอง รวมไปถึงเรียกร้องให้รัฐฯ เปิดช่องทางให้สื่อๆ ได้ปฏิบัติงานอย่างอิสระตามที่ควรจะเป็นในสัดมที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยในการขับเคลื่อนประเทศ เพื่อผดุงซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีของอาชีพนักสื่อสารมวลชน
คณะกรรมการนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
28 กุมภาพันธ์ 2564
นอกจากนี้ คณะกรรมการนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ได้ประกาศว่ามีการจัดตั้ง “ภาคีนักเรียนสื่อ” นำโดย หนังสือพิมพ์นิสิตนักศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, หนังสือพิมพ์ยูงทอง ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น อีกด้วย
ต่อมา คณะกรรมการนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ได้ยุติการชุมนุมเมื่อเวลา 18.43 น.