คำต่อคำ ย้อนดูประวัติ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จากรายงานประจำปี 2563 ที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.itv.co.th และ www.intouchcompany.com

บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (บริษัท) เดิมชื่อบริษัทสยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2538 ด้วยทุนจดทะเบียน 250 ล้านบาท และเพิ่มทุนี้เป็น 1,000 ล้านบาทในปีเดียวกัน โดยกลุ่มบริษัทสยามทีวีแอนด์คอมมิวนิ เคชั่นส์ จำกัด นำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับอนุมัติจาก สปน. ให้เป็นผู้ดำเนินงานสถานีโทรทัศน์ ภายใต้สัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ (UHF – Ultra High Frequency) (สัญญาเข้าร่วมงานฯ) เป็นระยะเวลา 30 ปี เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2539 ในปี 2541 ได้เปลี่ยนชื่อบริษัท เป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและการบริหารงาน ในระยะที่ผ่านมา ดังนี้
ปี 2538
กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด นำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ดำเนินงานโครงการโทรทัศน์ช่องใหม่ระบบยูเอชเอฟจาก สปน. โดยได้ก่อตั้ง บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด เพื่อลงนามในสัญญาเข้าร่วมงานฯ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2538

ปี 2539
บริษัทได้ดำเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์และได้เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2539
ปี 2540
บริษัทได้ติดตั้งสถานีส่งเพิ่มเติมที่อาคารเนชั่น ถนนบางนา-ตราด และอาคารสินสาทร ซึ่งสามารถครอบคลุมพื้นที่บริการในกรุงเทพฯ และปริมณฑลบางส่วน
ปี 2541
บริษัทมีสถานีส่งรวมทั้งสิ้น 36 สถานี สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่บริเวณภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทยเพียงบางจังหวัดเท่านั้น นอกจากนี้ บริษัทได้แปรสภาพเป็นบริษัท มหาชน ให้เป็นไปตามข้อสัญญาเข้าร่วมงานฯ และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2541
ปี 2542
บริษัทได้ติดตั้งสถานีส่งบนอาคารใบหยก 2 มีขนาดกำลังส่งออกอากาศสูงสุด 1,000 กิโลวัตต์ ให้บริการในรัศมีประมาณ 100 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดในภาคกลาง

ปี 2543
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการแก้ไขสัญญาเข้าร่วมงานฯ ในเรื่องข้อจำกัดการโอนหุ้นของบริษัทให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คู่สัญญาได้ลงนามแก้ไข เพิ่มเติมสัญญาเข้าร่วมงานฯในเรื่องข้อจำกัดการโอนหุ้นและการขยายเวลาชำระผลตอบแทนงวดแรกในวันที่ 25 เมษายน 2543 ตั้งแต่วันที่บริษัทได้จัดตั้งขึ้น จนถึงวันที่มีการลงนามแก้ไขสัญญาดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัทหลายครั้ง
ต่อมาในปลายเดือนมิถุนายน 2543 บริษัทได้ปรับโครงสร้างหนี้และโครงสร้างทุน โดยการเพิ่มทุนของธนาคารไทย พาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ( ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเปืน บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ) ( “อินทัช” ) จำนวน 55 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท รวมจำนวน 550 ล้านบาท มีสัดส่วนของทุนที่เพิ่มแต่ละฝ่าย จำนวน 288.71 ล้านบาท และ 261.29 ล้านบาทตามลำดับ รวมเป็นทุนชำระแล้ว 1,550 ล้านบาท และได้มีการลด ทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วลงเหลือ 387.5 ล้านบาท
18 กันยายน 2543 บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 387.5 ล้านบาท เป็น 4,500 ล้านบาท โดยมีทุนชำระแล้ว 4,250 ล้าน บาท และในเดือนพฤศจิกายน 2543 ได้มีการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และอินทัช ในราคาหุ้นละ 8.7692 บาท มีสัดส่วนของทุนที่เพิ่มแต่ละฝ่าย จำนวน 464.15 ล้านบาท และ420.1 ล้านบาทตามลำดับ และต่อมาในเดือนธันวาคม 2543 ได้ขายหุ้นเพิ่มทุนอีกครั้งให้แก่ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และอินทัชในราคาหุ้นละ 8.7692 บาท มีสัดส่วนของทุนที่เพิ่มแต่ละฝ่าย จำนวน 1,526.73 ล้านบาทและ976.11 ล้านบาทตามลำดับ รวมเป็นทุนชำระแล้วทั้งสิ้น 4,250 ล้านบาท
1 กันยายน 2543 สถานีฯ ได้ขยายเวลาแพร่ภาพออกอากาศรายการเป็น 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ในปี 2543 บริษัทได้ ติดตั้งสถานีส่งเพื่อเสริมจุดบอดอีก 4 สถานีเพิ่มเติมจากสถานีเครือข่ายหลัก 36 สถานี รวมเป็นสถานีส่งทั้งสิ้น 40 สถานี ครอบคลุมประชากรที่สามารถรับชมได้ประมาณร้อยละ 97 ของประชากรทั้งหมดในประเทศไทย
ปี 2544
13 พฤศจิกายน 2544 อินทัชได้ตกลงซื้อหุ้นสามัญของบริษัทจาก ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 106,250,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 10.6573 บาท รวมทั้งได้เสนอซื้อหุ้นสามัญของบริษัทจากผู้ถือหุ้นรายอื่นในราคาเดี๋ยวกัน เป็๋นผลให้อินทัชเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2544 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตรา ไว้ต่อหุ้นจากเดิม 10 บาทต่อหุ้น เป็น 5 บาทต่อหุ้น ทำให้หุ้นทั้งหมดของบริษัทเพิ่มเป็น 1,200 ล้านหุ้น โดยเป็นหุ้นที่ชำระแล้ว 850 ล้านหุ้น

ปี 2545
27 กุมภาพันธ์ ถึง 1 มีนาคม 2545 บริษัทเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป จำนวน 300 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 6 บาท และในวันที่ 13 มีนาคม 2545 บริษัทได้เข้าจดทะเบียน้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย ทุนชำระแล้ว 5,750 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2545 ได้จัดตั้งบริษัทย่อย คือบริษัท อาร์ตแวร์ มีเดีย จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจให้เช่าอุปกรณ์ ที่ใช้ในการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ และการถ่ายภาพยนตร์ ผลิตรายการโทรทัศน์ ซื้อ/ขาย ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ และจัด กิจกรรมการตลาดอื่น ๆ ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท จำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท โดยบริษัทเป็นผู้ถือหุ้น ใหญ่คิดเป็นร้อยละ 99.93 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด
ปี 2546
16 มกราคม 2546 เพิ่มทุนในบริษัท อาร์ตแวร์ มีเดีย จำกัด จาก 1 ล้านบาท เป็น 20 ล้านบาท โดยมีหุ้นทั้งหมด 200,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท บริษัทยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 99.99 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด
1 กุมภาพันธ์ 2546 บริษัทย้ายสำนักงานรวมทั้งสตูดิโอจากอาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า ไปยังอาคารชินวัตร ทาวเวอร์ 3 เพื่อเปืนการรองรับการขยายตัวของธุรกิจให้มีพื้นที่สำนักงานและสตูดิโอเพิ่มขึ้น
26 กุมภาพันธ์ 2546 คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน 60 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท รวมมูลค่า 300 ล้านบาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จัดสรรให้แก่กรรมการและพนักงานของ บริษัท (โครงการ ESOP) ทำให้ทุนจดทะเบียนของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 1,200 ล้านหุ้น มูลค่า 6,000 ล้านบาท เป็น 1,260 ล้านหุ้น มูลค่า 6,300 ล้านบาท
16 ธันวาคม 2546 คณะกรรมการบริษัท มีมติอนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทเป็น 7,800 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 1,560 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 300 ล้านหุ้น จัดสรรเป็นการเฉพาะเจาะจงให้กับพันธมิตรร่วมทุน 2 ราย ได้แก่ นายไตรภพ ลิมปพัทธ์ จำนวน 150 ล้านหุ้น และบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ( “กันตนา” ) จำนวน 150 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 10 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของแผนการขายหุ้นเพิ่มทุนขึ้นอยู่กับผลการเข้ามาตรวจสอบ (Due Diligence) บริษัท ทั้งนี้ หากกันตนาได้เข้าซื้อหุ้นดังกล่าวแล้ว กันตนารวมถึงครอบครัวกัลย์จาฤก ตกลงที่จะไม่ผลิต และ/หรือไม่เป็นเจ้าของ และ/หรือไม่ จัดหารายการต่างๆ ให้กับสถานีโทรทัศน์ช่องอื่น ยกเว้นรายการเท่าที่มีอยู่เดิมกับสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 และสถานีโทรทัศน์ในต่างประเทศ
ปี 2547
19 มกราคม 2547 การประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2547 มีมติอนุมัติดตามมติคณะกรรมการบริษัทในการจัดสรรหุ้นสามัญใหม่เป็นการเฉพาะเจาะจงให้กับพันธมิตรร่วมทุนดังกล่าว
30 มกราคม 2547 คณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทในประเด็นที่ สปน.ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเข้า ร่วมงานฯ ข้อ 5 วรรคสี่ จนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับผลกระทบและให้ สปน.ชดเชยความเสียหายให้กับบริษัทโดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
- ให้ สปน. ชดเชยความเสียหายโดยชำระเงินให้แก่บริษัทจำนวน 20 ล้านบาท
- ให้ปรับลดผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 5 วรรคหนึ่งโดยในส่วนจำนวนเงินรับประกัน ผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำให้ปรับลดจากเดิมลงเหลือปีละ 230 ล้านบาท และปรับลดผลประโยชน์ตอบแทน เหลืออัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายและภาษีใด ๆ โดยเปรียบเทียบระหว่างจำนวนเงินที่คำนวณ ได้ตามีอัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายและภาษีใด ๆ กับเงินประกันผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำ จำนวนใดมากกว่าให้ชำระตามจำนวนที่มากกว่านั้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป
- ให้ สปน. คืนเงินผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำที่บริษัทได้ชำระ โดยมีเงื่อนไขในระหว่างพิจารณาข้อพิพาทนี้เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2546 จำนวน 800 ล้านบาท โดยคืนให้แก่บริษัทจำนวน 570 ล้านบาท
- ให้บริษัทสามารถออกอากาศช่วงเวลา Prime Time คือช่วงเวลาระหว่าง 19.00 น. ถึง 21.30 น. ได้โดยไม่ต้องถูก จำกัดเฉพาะรายการข่าว สารคดี และสารประโยชน์ แต่บริษัทจะต้องเสนอรายการข่าว สารคดี และสารประโยชน์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเวลาออกอากาศทั้งหมด ทั้งนี้ภายใต้ข้อบังคับของกฎระเบียบททำงราชการออกใช้บังคับ แก่สถานีวิทยุโทรทัศน์โดยทั่ว ๆ ไป
ปี 2548
ปี 2548 31 ตุลาคม 2548 จากข้อตกลงในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2547 นายไตรภพ ลิมปพัทธ์ และบริษัท กันตนา กรุ๊ปจำกัด (มหาชน) ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนตามที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2547
22 ธันวาคม 2548 คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทจัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ ชื่อบริษัท มีเดียคอนเน็คซ์ จำกัด (Media Connex Co., Ltd.) เพื่อให้บริการสื่อโฆษณาและผลิตเนื้อหา (content) ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มีทุน จดทะเบียน 50 ล้านบาท แบ่งเป็น 5,000,000 หุ้น หุ้นละ 10 บาท มีผู้ร่วมทุน คือ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ลงทุนร้อยละ 60 บริษัท ซีเอโมบาย ลิมิเต็ด (CAM) ประเทศญี่ปุ่นลงทุนร้อยละ 25 และมิตซุย แอนด์ โคลิมิเต็ด (MITSUI) ประเทศญี่ปุ่น ลงทุนร้อยละ 15 จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในเดือนมกราคม 2549 บริษัทร่วมทุนดังกล่าวจะนำทรัพยากรที่มีอยู่ของบริษัทไปขยายต่อธุรกิจ โดยอาศัยผู้ร่วมทุนจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการให้บริการด้านการตลาดรูปแบบใหม่ ๆ ผ่านสื่อโฆษณาทางโทรศัพท์เคลื่อนที่

ปี 2549
23 มกราคม 2549 บริษัทรับทราบการขายหุ้นสามัญของกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของอินทัช ในฐานะที่อินทัชเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทซึ่งถือหุ้นอยู่คิดเป็นร้อยละ 52.93 ของทุนชำระแล้วของบริษัท โดยกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของอินทัช ได้ขายหุ้นอินทัชให้แก่บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด (ซีดาร์) และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด (แอสเพน) อย่างไรก็ตาม ซีดาร์ และแอสเพน ได้รับการผ่อนผันจากสำนักงาน ก.ล.ต. ไม่ต้องทำคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการของบริษัท ตามที่กำหนดใน ข้อ 8 ของประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่กจ. 53/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงา กิจการ (Chain Principle) เนื่องจาก คณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงา กิจการพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า ซีดาร์ และแอสเพน มิได้มีความประสงค์ที่จะได้มาซึ่งทั้ง หลักทรัพย์ของบริษัทรวมถึงกรณีที่บริษัทเป็นทรัพย์สินที่ไม่เป็นสาระสำคัญของอินทัช
9 พฤษภาคม 2549 ศาลปกครองกลาซึ่งมีคำพิพากษาเพิ่กถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการฉบับลงวันที่ 30 มกราคม 2547 ทั้งฉบับ
7 มิถุนายน 2549 บริษัทได้ยื่นคาอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดขอให้มีคำตัดสินกรณีข้อพิพาทในประเด็นที่ สปน.ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 5 วรรคสี่ จนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับผลกระทบและให้ สปน.ชดเชยความเสียหายให้กับบริษัท
13 ธันวาคม 2549 ศาลปกครองสูงสุดมีคาพิพากษาเพิ่กถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการฉบับลงวันที่ 30 มกราคม 2547 ทั้งฉบับเนื่องจากมีคาวินิจฉัยว่าเงื่อนไขสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 5 วรรคสี่ ไม่ได้ผ่านการนำเสนอคณะรัฐมนตรี จึงไม่มีผลผูกพัน และมีผลให้คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการถูกยกเลิกไป บริษัทจึงต้องกลับไปปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาเข้าร่วมงานฯ เดิมตามข้อสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 5 วรรคหนึ่งในเรื่องการชำระค่าตอบแทนให้ สปน. โดยรับประกันผลประโยชน์ ตอบแทนขั้น ต่าปีละ 1,000 ล้านบาท หรืออัตราร้อยละ 44 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายและภาษี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่าและมีผลให้บริษัทที่ต้องกลับไปปฏิบัติตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้รายการข่าว สารคดี และสารประโยชน์ จะต้องรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของเวลาออกอากาศทั้งหมด และระยะเวลาระหว่างเวลา 19.00 – 21.30 น. จะต้องใช้สำหรับรายการข่าวสารคดี และสารประโยชน์ เท่านั้น โดยบริษัทได้เริ่มใช้ผังรายการที่เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 11 วรรคหนึ่งแล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2549 เป็นต้นมา
14 ธันวาคม 2549 สปน. มีหนังสือถึงบริษัทขอให้บริษัทดำเนินการดังต่อไปนี้
- ให้บริษัทดำเนินการปรับผังรายการให้เป็นไปตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 11
- ให้บริษัทชำระเงินส่วนต่างของค่าอนุญาตให้ดำเนินการขั้นต่ำตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ สำหรับ ปีที่ 9 (งวดที่ 7) จำนวน 670 ล้านบาท ปีที่ 10 (งวดที่ 8) จำนวน 770 ล้านบาท และปีที่ 11 (งวดที่ 9) จำนวน 770 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นี้เป็นจำนวนเงิน 2,210 ล้านบาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยคำนวณเป็นรายวัน ตามจำนวนวันที่ชำระล่าช้า
- ให้บริษัทชำระค่าปรับผังรายการในอัตราร้อยละ 10 ของค่าอนุญาตให้ดำเนินการที่สปน. จะได้รับในปีนั้น ๆ โดยคิดเป็นรายวัน ตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 11 วรรคสอง จากกรณีที่บริษัทดำเนินการเรื่องผังรายการไม่เป็นไปตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 จนถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2549 ซึ่ง สปน. ได้เรียกร้องมาเป็นจำนวนเงิน 97,760 ล้านบาท (บริษัทได้ดำเนินการปรับผังรายการตามคาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2549)
ทั้งนี้ สปน. แจ้งว่าหากบริษัทไม่ชำระเงินจำนวนดังกล่าวภายใน 45 วัน นับตั้งแต่ได้รับหนังสือแจ้ง (วันที่ 15 ธันวาคม 2549) สปน.จะดำเนินการตามข้อกำหนดในสัญญาเข้าร่วมงานฯ และข้อกฎหมายต่อไป
21 ธันวาคม 2549 บริษัทมีหนังสือถึง สปน.โดยมีสาระสำคัญดังนี้
- บริษัทได้ดำเนินการปรับผังรายการให้เป็นไปตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 11 เรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2549 เป็นต้นมา
- บริษัทมิได้ผิดนัดชำระค่าอนุญาตให้ดำเนินการตามที่อ้างถึงเนื้องจากบริษัทได้ชำระค่าอนุญาตให้ดำเนินการรายปีจำนวน 230 ล้านบาท โดยเป็นการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งคำชี้ขาดดังกล่าวมีผลผูกพันคู่สัญญาเข้าร่วมงานฯ ทั้งสองฝ่ายตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 15 ดังนั้น บริษัทจึงไม่มีภาระดอกเบี้ยของค่าอนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่างดังกล่าวในช่วงระยะเวลาตั้งแต่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดจนถึงวันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา
- บริษัทไม่เห็นพ้องกับ สปน.กรณีที่ต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 97,760 ล้านบาท และการก าหนดให้บริษัทชำระค่าปรับดังกล่าวภายใน 45 วัน ด้วยเหตุผลดังนี้
- 3.1. บริษัทมิได้ปฏิบัติผิดสัญญาเข้าร่วมงานฯเนื่องจากบริษัทได้ปฏิบัติตามสัญญาเข้าร่วมงานฯข้อ 15 ซึ่งกำหนดว่า “ให้คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพันคู่สัญญาเข้าร่วมงานฯ “ทั้งสองฝ่าย” และข้อ 30 วรรคท้ายของข้อบังคับสำนักงานศาลยุติธรรมและมาตรา 70 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ดังนั้นการดำเนินการปรับผังรายการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 จนถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2549 จึงเป็นการกระทำโดยชอบตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ และกฎหมายแล้ว
- 3.2. เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการนำข้อพิพาทเสนอต่อคณะอนุญาโตตุลาการและให้วินิจฉัยชี้ขาดตามที่กล่าวมาในข้อ 3.1 หากปรากฏว่าบริษัทเป็นฝ่ายผิดสัญญาเข้าร่วมงานฯ สิทธิของ สปน.ในการบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานฯ ควรจะเกิดภายหลังจากที่กระบวนการยุติธรรมดำเนินจนถึงที่สุดแล้ว
- 3.3. ศาลปกครองได้จัดทำเอกสาร “ข่าวศาลปกครอง” ครั้งที่ 78/2549ฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2549 ระบุถึงคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีของบริษัทโดยมีข้อความตอนหนึ่งระบว่า “กรณีเกี่ยวกับค่าปรับคู่สัญญาเข้าร่วมงานฯ ต้องว่ากล่าวกันเองหากตกลงไม่ได้ต้องเสนอข้อพิพาทตามวิธีการที่ระบุไว้ในสัญญาเข้าร่วมงานฯ”
- 3.4 ดอกเบี้ยและค่าปรับจากการดำเนินการปรับผังรายการนั้นยังไม่มีข้อยุติเนื่องจากไม่ใช้ประเด็นพิพาที่ทเข้าสู่การพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ดังนั้นหากคู่สัญญาเข้าร่วมงานฯ มีข้อขัดแย้งและไม่สามารถทำความตกลงกันได้ก็จะต้องเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการโดยเป็นไปตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 15 ซึ่งกำหนดว่า “หากมีข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งใดๆ อันเกี่ยวเนื่องกับสัญญาเข้าร่วมงานฯ ระหว่าง สปน. กับผู้เข้าร่วมงาน (บริษัท) คู่สัญญาเข้าร่วมงานฯ ตกลงแต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการทำการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทโดยคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นที่สุดและผูกพันคู่สัญญาเข้าร่วมงานฯ ทั้งสองฝ่าย”
- บริษัทและที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทเห็นว่าการคำนวณค่าปรับจากการปรับผังรายการตามวิธีของสปน.ดังกล่าวข้างต้นไม้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของสัญญาเข้าร่วมงานฯซึ่งหากบริษัทเข้าข่ายจะต้องเสียค่าปรับ การคิดคำนวณค่าปรับควรจะเป็นจำนวนเงินในอัตราไม่เกินกว่า 274,000 บาทต่อวัน มิใช่ 100 ล้านบาทต่อวันตามที่สปน.กล่าวอ้าง ดังนั้นหากบริษัทจะต้องมีภาระค่าปรับโดยนับตั้งแต่วันที่บริษัทปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการจนถึงวันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำตัดสินตามที่ สปน.กล่าวอ้าง (ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 จนถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2549) การคิดคำนวณค่าปรับในชวงเวลาดังกล่าวก็ไม่ควรจะเกินไปกว่าจำนวน 268 ล้านบาท มิใช่ 97,760 ล้านบาท
- สำหรับกรณีที่สปน. เรียกร้องดอกเบี้ยของค่าอนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่างบริษัทและที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทที่มีความเห็นว่า ในช่วงระหว่างระยะเวลาที่บริษัทได้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการบริษัทไม่มีหน้าที่ในการต้องชำระ และบริษัทไม่ได้ผิดนัดการชำระค่าอนุญาตให้ดำเนินการเนื่องจากบริษัทได้ชำระค่าอนุญาตให้ดำเนินการรายปีจำนวน 230 ล้านบาทตามคำชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งผูกพันทั้งสองฝ่ายในชวงเวลาที่คำชี้ขาดยังมีผลบังคับใช้อยู่โดยที่บริษัทมิได้ผิดนัดชำระค่าอนุญาตให้ดำเนินการและ/หรือชำระค่าอนุญาตให้ดำเนินการให้แก่ สปน. ล่าช้าอีกทั้ง สปน.ยังไม่เคยใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลในการขอคุ้มครองเพื่อระงับมิให้บริษัทปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในชวงเวลาดังกล่าวแต่ประการใด ดังนั้นบริษัทจึงไม่มีภาระดอกเบี้ยของค่าอนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่างในระหว่างที่คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการยังคงมีผลผูกพันทางกฎหมายอยู่อีกทั้งคำพิพากษาของศาลปกครองกลางที่มีคำสั่งให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการยังไม่มีผลบังคับเนื่องจากยังอยู่ในระหว่างที่บริษัทยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด และศาลปกครองสูงสุดยังไม่มีคำพิพากษาในขณะนั้น
20 ธันวาคม 2549 บริษัทมีเดีย คอนเน็คซ์ จำกัด เปลี่ยนแปลงกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่จากจำนวน 3ราย เหลือ 2 ราย ได้แก่ บริษัทและมิตซุย แอนด์ โค ลิมิเต็ด (MITSUI) ประเทศญี่ปุ่น โดยสัดส่วนการถือหุ้นี้เป็นร้อยละ 60 และร้อยละ 40 ตามลำดับ
ปี 2550
4 มกราคม 2550 บริษัทได้ยื่นข้อพิพาทเรื่องค่าปรับจากการปรับผังรายการและดอกเบี้ยในค่าอนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่างต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเป็นข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 1/2550 ส่วนเรื่องค่าอนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่างจำนวน 2,210 ล้านบาทนั้น เพื่อเปืนการประนีประนอมให้การดำเนินการตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ เป็นไปโดยราบรื่น และมิให้สปน. บอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานฯ อันจะมีผลกระทบต่อกิจการของบริษัท บริษัทจึงได้ตัดสินใจเสนอเงื่อนไขขอประนีประนอมโดยเสนอแนวทางการจ่ายเงิน 2,210 ล้านบาท หลายแนวทางโดยทุกแนวทางมีเงื่อนไขให้สปน.เข้าร่วมกันยื่นข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเพื่อให้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดกรณีค่าปรับและดอกเบี้ยค่าอนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่าง ซึ่ง สปน.ได้ปฏิเสธเงื่อนไขการให้สถาบันอนุญาโตตุลาการชี้ขาดหนี้และปฏิเสธแนวทางการชำระเงินค่าอนุญาตให้ดำเนินการดังกล่าวทุกแนวทางในการประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550
2 กุมภาพันธ์ 2550 บริษัทได้มีหนังสือขอความเป็นธรรมต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์) และเสนอแนวทางการประนีประนอมในการแก้ปัญหาข้อพิพาท โดยเสนอให้ สปน.รับชำระเงินค่าอนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่างจำนวน 2,210 ล้านบาท และมีเงื่อนไขขอให้ สปน. ดำเนินการตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการ กรณีค่าปรับและดอกเบี้ยตามข้อสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 15
13 กุมภาพันธ์ 2550 สปน. ได้มีหนังสือปฏิเสธข้อเสนอขอประนีประนอมของบริษัทดังกล่าวอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นนับแต่วันที่ สปน. มีหนังสือปฏิเสธข้อเสนอของบริษัท บริษัทจึงไม่มีภาระผูกพันใดๆ ในข้อเสนอของบริษัทที่มีต่อ สปน.อีกต่อไป ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 357 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต่อมา ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีหมายเลขดำที่ 640/2550 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2550 โดยศาลปกครองกลางได้วินิจฉัยว่า ประเด็นที่ สปน. อ้างว่าบริษัทยอมรับว่าเป็นหน้คำอนุญาตให้ดำเนินการค้างชำระอยู่จำนวน 2,210 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย รับฟังไม่ได้ เพราะเป็นข้อเสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาหลายแนวทางซึ่งยังไม่เป็นที่ยุติจึงถือเปืนข้อพิพาที่ที่ต้องนำเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ
20 กุมภาพันธ์ 2550 บริษัทได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวเป็นกรณีฉุกเฉินใน 2 ประเด็น ดังนี้
- บริษัทขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งระงับการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานฯ ของ สปน.ในกรณีที่บริษัทยังมิได้ชำระค่าปรับจากการปรับผังรายการและดอกเบี้ยในค่าส่วนต่างจำนวนประมาณหนึ่งแสนล้านบาท จนกว่าคณะอนุญาโตตุลาการจะได้มีคำชี้ขาดและข้อพิพาทดังกล่าวถึงที่สุดตามกฎหมาย
- บริษัทขอให้ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งกำหนดระยะเวลาเพื่อให้บริษัทชำระค่าอนุญาตให้ดำเนินการ ส่วนต่างจำนวน 2,210 ล้านบาท ให้แก่ สปน.ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งในเรื่องนี้
21 กุมภาพันธ์ 2550 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวและคำร้องขอไต่สวนฉุกเฉิน โดยมีข้อวินิจฉัยว่าไม่มีเหตุอันสมควรที่ ศาลจะมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของบริษัทขณะดำเนินการซึ่งคำสั่งศาลปกครองกลางดังกล่าวให้ถือเปืนที่สุดโดยบริษัทไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
7 มีนาคม 2550 สปน.มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานฯ และแจ้งให้บริษัทดำเนินการชำระหนี้และส่งมอบทรัพย์สินที่บริษัทมีไว้ใช้ในการดำเนินกิจการตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ คืนให้แก่ สปน.ภายในเวลาที่ สปน.กำหนดตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550 (24.00 น. ของวันที่ 7 มีนาคม 2550) ซึ่งการบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานฯ ดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัทจำเป็นต้องหยุดการดำเนินธุรกิจสถานีโทรทัศน์ในระบบยูเอชเอฟนับแต่นั้นมา
28 มีนาคม 2550 บริษัทได้มีหนังสือถึง สปน. โดยได้โต้แย้งว่าการบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานฯ ของ สปน. และการเรียกร้องให้บริษัทที่ต้องชำระหนี้จำนวนกว่าแสนล้านบาทให้แก่ สปน. ซึ่ง สปน.นำมาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานฯ นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อสัญญาเข้าร่วมงานฯเนื่องจากบริษัทมิได้กระทำการใด ๆ ซึ่งเป็นการผิดสัญญาเข้าร่วมงานฯ บริษัทมิได้เห็นด้วยกับการบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานฯ อันเป็นการกระทำอันไม่ชอบดังกล่าว และโดยที่การบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานฯ ของ สปน. เป็นการกระทำซึ่งเป็นเหตุให้กิจการของบริษัทได้รับความเสียหาย สปน. จึงต้องรับผิดแกบริษัทและบริษัทได้สงวนสิทธิในการดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
8 พฤษภาคม 2550 บริษัทยื่นคำฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลางเป็นคดีหมายเลขดำที่ 910/2550 กรณี สปน.ไม่นำข้อ 5 วรรคสี่ เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก่อนลงนามสัญญา จนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย โดยเรียกค่าเสียหาย 119,252 ล้านบาท
9 พฤษภาคม 2550 บริษัทยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเป็นข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 46/2550 ให้คณะอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาดกรณี สปน.ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อสัญญาเข้าร่วมงานฯ และความไม่ถูกต้องในการเรียกร้องให้บริษัทชำระค่าส่วนต่าง ดอกเบี้ยค่าปรับมูลค่าทรัพย์สินที่ส่งมอบไม่ครบ และบริษัทขอเรียกค่าเสียหายจาก สปน.จำนวน 21,814 ล้านบาท พร้อมทั้งขอให้ชดเชยความเสียหายโดยให้บริษัทได้กลับเข้าดำเนินการสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟต่อไปจนครบอายุตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ
30 พฤษภาคม 2550 คดีหมายเลขดำที่ 910/2550 ซึ่งบริษัทเป็นผู้ฟ้องคดีประเด็นที่สปน.ไม่นำข้อ 5 วรรคสี่ เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาเนื่องจากเกินกว่าอายุความ10 ปี (สัญญาเข้าร่วมงานฯ มีผลผูกพันตั้งแต่ 3 กรกฎาคม 2538)
11 กรกฎาคม 2550 บริษัทยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดกรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีหมายเลขดำที่ 910/2550เพราะเหตุขาดอายุความ (คดีหมายเลขดำที่ 910/2550 เป็นคดีที่บริษัทเป็นผู้ฟ้องคดีประเด็นที่ สปน.ไม่นำข้อ 5 วรรคสี่ เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบจนี้เป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย)
29 ตุลาคม 2550 บริษัทยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวฉุกเฉิน เพื่อมิให้ร่างพระราชบัญญัต้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย มีผลใช้บังคับก่อนมีคำพิพากษาในคดีของบริษัท เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 และจะนำเสนอสถานติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 31 ตุลาคม 2550 โดยบริษัทได้ให้เหตุผลในคำร้องว่าหากร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวผ่านการพิจารณาและมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว จะมีผลให้คำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการหรือคำพิพากษาของศาลปกครองในข้อพิพาทหรือคดีระหว่างบริษัทกับ สปน.ที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ 31 ตุลาคม 2550 ที่เกี่ยวกับข้อเรียกร้องค่าเสียหายข้อหนึ่งของบริษัทซึ่งบริษัทได้เรียกร้องให้ สปน.ชดใช้ค่าเสียหายให้บริษัทโดยการอนุญาตให้บริษัทกลับเข้าดำเนินการสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ โดยใช้คลื่นความถี่และทรัพย์สินอุปกรณ์เครือข่ายเดิมต่อไปจนครบตามกำหนด ระยะเวลาในสัญญาเข้าร่วมงานฯ เดิม ไม่อาจมีผลบังคับได้อีกต่อไปเนื่องจากบรรดาทรัพย์สินต่างๆ รวมถึงสิทธิ หน้าที่และภาระผูกพันของบริษัทตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ จะตกเป็นของรัฐตามบทเฉพาะกาลมาตรา 56 แห่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว บริษัทจึงขอให้ศาลปกครองกลางพิจารณาไต่สวนฉุกเฉินและมีคำสั่งให้ระงับหรือหามาตรการหยุดดำเนินการหรือหยุดการเสนอร่างกฎหมายร่างพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาโดยเร่งด่วน ตามแต่วิธีการที่ศาลปกครองกลางจะเห็นสมควรจนกว่าคดีจะถึงที่สุดีหรือศาลปกครองกลางจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
30 ตุลาคม 2550 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอคุ้มครองฉุกเฉินของบริษัทโดยให้เหตุผลว่า การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการกระทำในหน้าที่ของสมาชิกสถานติบัญญัติแห่งชาติซึ่งเป็นการใช้อำนาจทางนิติบัญญัติดตามรัฐธรรมนูญ มิใช่การใช้อำนาจทางปกครอง จึงไม่มีเหตุผลอันควร และเพียงพอที่ศาลจะมีคำสั่งระงับการดำเนินการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ และปัจจุบันข้อพิพาทนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการจึงไม่มีเหตุผลสมควรที่ศาลปกครองกลางจะมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองตามที่บริษัทร้องขอมาได้
31 ตุลาคม 2550 ร่างพระราชบัญญัต้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยดังกล่าว ได้ผ่านการอนุมัติจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอยู่ระหว่างการออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
14 พฤศจิกายน 2550 ศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำสั่งยืนยันตามศาลปกครองกลาง โดยแต่งตั้งนายวิชช์ จีระแพทย์ เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่าย สปน.ในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 1/2550 ดังนั้นข้อพิพาทเรื่องค่าปรับ ค่าอนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่าง และดอกเบี้ยตามข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 1/2550 จึงต้องดำเนินการตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไปส่วนคดีหมายเลขดำที่ 910/2550 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งเช่นเดียวกับศาลปกครองกลางโดยไม่รับพิจารณาคำอุทธรณ์ในคดีที่บริษัทฟ้องกรณี สปน.ไม่นำข้อ 5 วรรคสี่ เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบก่อนลงนามสัญญาร่วมงานฯ เพราะเหตุขาดอายุความ

ปี 2551
15 มกราคม 2551 พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยได้มีการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว มีผลให้คำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการหรือคำพิพากษาของศาลปกครองในข้อพิพาทหรือคดีระหว่างบริษัท กับ สปน. ที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ 15 มกราคม 2551 ที่เกี่ยวกับข้อเรียกร้องค่าเสียหายข้อหนึ่งของบริษัทซึ่งบริษัทได้เรียกร้องให้สปน. ชดใช้ค่าเสียหายให้บริษัทโดยการอนุญาตให้บริษัทกลับเข้าดำเนินการสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ โดยใช้คลื่นความถี่และทรัพย์สินอุปกรณ์เครือข่ายเดิมต่อไปจนครบตามกำหนด ระยะเวลาในสัญญาเข้าร่วมงานฯ เดิมไม่อาจมีผลบังคับได้อีกต่อไปเนื่องจากบรรดาทรัพย์สินต่าง ๆ รวมถึงสิทธิหน้าที่และภาระผูกพันของบริษัทตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ จะตกเป็นของรัฐตามบทเฉพาะกาลมาตรา 56 แห่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงมีคดีความฟ้องร้องกับ สปน.ที่ยังดำเนินต่อไปในกระบวนการยุติธรรม และข้อเรียกร้องค่าเสียหายข้ออื่นๆ ที่เรียกร้องให้สปน.ชดเชยค่าเสียหายโดยชำระคืนเป็นเงินสดีหรือการขอชดเชยโดยวิธีอื่นให้แก่บริษัทยังคงมีผลทางกฎหมายอยู่ หากคณะอนุโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาดตามที่บริษัทเรียกร้อง
2 เมษายน 2551 คณะกรรมการของบริษัท มีมติให้ บริษัท มีเดีย คอนเน็คซ์ จำกัด ลดทุนจดทะเบียน 3 ใน 4 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด เป็นจำนวนรวมสุทธิ 37.5 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท (ชำระเต็มมูลค่า) เหลือ 12.50 ล้านบาท โดยเป็นการลดจำนวนหุ้นลงจากเดิม 5,000,000 หุ้น คงเหลือ 1,250,000 หุ้น โดยมีมูลค่าหุ้นละ 10 บาท เท่าเดิม
30 ตุลาคม 2551 สปน.ได้ยื่นคำร้องเลขที่ ค 9/2551 ขอคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครองกลางโดยร้องขอให้ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งห้ามไม่ให้บริษัทซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวในปัจจุบัน กระทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับที่ดิน ที่อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี โฉนดที่ดินที่ 25168 และ 29554 ก่อนข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 46/2550 จะมีคำชี้ขาดและถึงที่สุด และขอให้มีคำสั่งแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา และเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุดรธานี ห้ามจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมใด ๆเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนมีคำชี้ขาดข้อพิพาทโดยกล่าวอ้างสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 1.1 วรรคสอง ที่กำหนดเงื่อนไขไว้ว่า “ที่ดินอาคารอุปกรณ์ในการดำเนินการและทรัพย์สินอื่นใดที่ผู้เข้าร่วมงานได้ดำเนินการจัดหาหรือได้มาหรือมีไว้เพื่อดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ตามสัญญานี้ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันลงนามในสัญญาให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ สปน. นับแต่วันที่ได้ติดตั้งอุปกรณ์เสร็จเรียบร้อยและใช้งานได้ หรือได้จัดหามาโอกาสแรกแต่ไม่ช้ากว่าวันเริ่มดำเนินการ ทั้งนี้สปน.ตกลงให้ผู้เข้าร่วมงานมีสิทธิและหน้าที่ในการครอบครองและใช้สอยทรัพย์สินดังกล่าวในการดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญานี้”
3 กันยายน 2551 คณะกรรมการของบริษัท มีมติให้เลิกกิจการ บริษัท มีเดีย คอนเน็คซ์ จำกัด
25 พฤศจิกายน 2551 บริษัทได้คัดค้านคำร้องคำร้องหมายเลข ค 9/2551 ดังกล่าวโดยให้ข้อเท็จจริงว่า สปน.เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานฯ ก่อนครบกำหนด ระยะเวลาตามสัญญา โดยที่บริษัทมิได้ปฏิบัติผิดสัญญาการบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานฯ ของผู้ร้องเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยมีเจตนาที่จะเข้ายึดและครอบครองการดำเนินการสถานีโทรทัศน์แทนบริษัทเพื่อแสวงหาผลประโยชน์เจตนาของผู้ร้องไม่สุจริต เป็นการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่า สปน.เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญาก่อน ผลของการบอกเลิกสัญญาโดยไม่ชอบย่อมทำให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ย่อมถือเสมือนว่าคู่สัญญามิได้ทำสัญญากันมาตั้งแต่แรก สปน. ไม่อาจกล่าวอ้างหรืออาศัยเอาข้อกำหนด ข้อตกลง รายละเอียดในสัญญาเข้าร่วมงานฯ ที่ สปน.เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญามาเรียกร้องให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ได้อีกต่อไป อีกทั้งสัญญาเข้าร่วมงานฯ ก็มิได้มีข้อยกเว้นไว้ในกรณีที่เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วไม่ให้กลับคืนสู่ฐานะเดิม ดังนั้น สปน.จึงไม่อาจกล่าวอ้างสัญญาที่เลิกกันแล้วมาเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามได้
25 ธันวาคม 2551 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามบริษัทกระทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับที่ดิน อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสิมา และอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี บริษัทได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุด
ปี 2552
29 มิถุนายน 2552 ศาลปกครองสูงสุด ยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลาง โดยตามที่ให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามบริษัทกระทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับที่ดินอำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมาและอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
4 มิถุนายน 2552 ตลท.ได้ถอนชื่อหลักทรัพย์ของบริษัทออกจากกระดานซื้อขายและย้ายหลักทรัพย์ไปยังกลุ่ม NPG (Non-Performing Group) โดยบริษัทยังคงมีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของ ตลท.ทุกประการเนื่องจากตามที่ปรากฏในงบการเงินไตรมาส 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2552 ที่ผ่านการสอบทานโดยผู้สอบบัญชี ปรากฏว่าส่วนของผู้ถือหุ้นมีค่าน้อยกว่าศูนย์และมีผลขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานติดต่อกัน 2 ปี
ปี 2553
–
ปี 2554
9 กันยายน 2554 ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งคดีหมายเลขดำที่ ค 7/2554 และคดีหมายเลขแดงที่ ค 7/2554 ห้ามไม่ให้บริษัททำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 25168 ตำบลบ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี และมีคำสั่งแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน จังหวัดอุดรธานี ห้ามจดทะเบียนใดๆ เกี่ยวกับที่ดินแปลงดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าคณะอนุญาโตตุลาการจะมีคำสั่งชี้ขาดในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 46/2550
ปี 2555
–
ปี 2556
–
ปี 2557
–
ปี 2558
2 มีนาคม 2558 บริษัทได้ยื่นคำร้องขอถอนคำเสนอข้อพิพาที่ 1/2550เนื่องจากคดีข้อพิพาที่ 46/2550 มีประเด็นข้อพิพาทที่ครอบคลุมถึงประเด็นข้อพิพาที่ 1/2550 และคดีข้อพิพาที่ 1/2550 เป็นข้อพิพาที่ทเกิดขึ้นก่อนที่ สปน. จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานฯ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องดำเนินคดีในข้อพิพาที่ 1/2550 อีกต่อไป รวมทั้งขอให้มีคำสั่งคืนค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการให้แก่ไอทีวีเป็นกรณีพิเศษ
1 พฤษภาคม 2558 สปน. ยื่นคำร้องขอคัดค้านการถอนคำเสนอข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 1/2550 โดยให้เหตุผลว่าหาก สปน. ยินยอมตามการขอถอนข้อพิพาทของไอทีวี อาจเป็นผลเสียต่อ สปน. เนื่องจาก สปน. ได้เรียกร้องแย้งไว้ในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 46/2550 ว่าเป็นฟ้องซ้อนกับข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 1/2550 และคณะอนุญาโตตุลาการได้กำหนดเรื่องนี้ไว้เป็นประเด็นข้อพิพาที่ที่ต้องพิจารณาเรียบร้อยแล้ว
ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2558 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2558 คณะอนุญาโตตุลาการดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานบริษัท และ สปน. โดยเสร็จสิ้นการสืบพยานของคู่พิพาททั้งสองฝ่ายในวันที่ 15 กันยายน 2558
ปี 2559
1 กุมภาพันธ์ 2559 บริษัทได้รับสำเนาคำชี้ขาดจากสถาบันอนุญาโตตุลาการซึ่งได้วินิจฉัยชี้ขาดคดีข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 46/2550 (ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 1/2559) ฉบับลงวันที่ 14 มกราคม 2559 โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
- การบอกเลิกสัญญาของ สปน. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- ให้ สปน. ชดใช้ความเสียหายให้แก่บริษัทรวมจำนวน 2,890,345,205.48 บาท
- เมื่อศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการที่ให้ปรับลดค่าตอบแทนตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2549 บริษัทจึงต้องชำระค่าตอบแทนส่วนต่าง จำนวน 2,886,712,328.77บาท ให้แก่ สปน. โดยถือว่า บริษัทผิดนัดชำระนับตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2550 จนถึงวันที่ 7 มีนาคม 2550 คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน 3,632,876.77 บาท รวมเป็นเงินที่บริษัทที่ต้องชำระให้แก่ สปน. เป็นเงินจำนวน 2,890,345,205.48 บาท
- บริษัท และ สปน. ต่างมีหน้าที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่กันในจำนวนเงินเท่ากัน คือ 2,890,345,205.48 บาท ซึ่งเมื่อหักกลบลบกันแล้วต่างฝ่ายจึงไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระแก่กันและกัน
29 เมษายน 2559 สปน.ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในคดีหมายเลขดำที่ 46/2550 (คดีหมายเลขแดงที่ 1/2559) ต่อศาลปกครองกลางโดยศาลปกครองกลางมีคำสั่งรับคำร้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ 620/2559เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2559
ปี 2560
–
ปี 2561
–
ปี 2562
8 ตุลาคม 2562 สถาบันอนุญาโตตุลาการมีคำสั่งจำหน่ายคดีข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 1/2550 ออกจากสารบบความ
ปี 2563
17 ธันวาคม 2563 ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 620/2559 (คดีหมายเลขแดงที่ 1948/2563) พิพากษายกคำร้องของ สปน. ที่ขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 46/2550 (ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 1/2559) โดยวินิจฉัยว่าคดีไม่มีเหตุที่จะให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดได้ตามกฎหมาย
ปี 2564
15 มกราคม 2564 สปน. ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองกลางต่อศาลปกครองสูงสุด
18 กุมภาพันธ์ 2564 ศาลปกครองสูงสุดรับคำร้องดังกล่าวแล้ว และคดีอยู่ในกระบวนการทางศาลปกครองสูงสุด
ที่มา:
- http://www.itv.co.th/
- https://www.intouchcompany.com/ir_an_itv_th.asp
- https://www.intouchcompany.com/download/Annual Report CG/ITV รายงานประจำปี 2564.pdf
อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2564